วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พระอิสริยยศและพระเกียรติยศ

พระอิสริยยศ
สมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (30 ธันวาคม พ.ศ. 2468 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 - 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554)

พระยศทางทหาร
พันโทหญิง (พ.ศ.2512)
ผู้บังคับการพิเศษ กรมทหารราบที่ 15 จังหวัดนครศรีธรรมราช (พ.ศ.2512)
พันเอกหญิง, นาวาเอกหญิง และ นาวาอากาศเอกหญิง (พ.ศ. 2533)
นายทหารพิเศษประจำกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์
นายทหารพิเศษประจำกองนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ (พ.ศ.2533)
นายทหารพิเศษประจำกรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ (พ.ศ. 2533)
ราชองครักษ์พิเศษ (พ.ศ.2533)
นายทหารพิเศษ กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (พ.ศ.2533)
นายทหารพิเศษประจำ กองพันทหารราบที่3 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ (พ.ศ. 2552)[16]
พลเอกหญิง (พ.ศ. 2552)
พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง (พ.ศ. 2553)[18]
นายทหารพิเศษประจำ ฝูงบิน 602 รักษาพระองค์ กองบิน 6 (พ.ศ. 2553)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์
สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ดังนี้
 เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ฝ่ายใน)
 เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าปฐมจุลจอมเกล้า (ฝ่ายใน)
 เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ฝ่ายใน)
 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ
 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์
 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ
 เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1
 เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1
 เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1
 เหรียญกาชาดสรรเสริญ


ปริญญากิตติมศักดิ์
คหกรรมศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพัฒนาการครอบครัวและเด็ก สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2534
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สายอุตสาหกรรมบริการ โปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี พ.ศ. 2540
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2541
ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2550
ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพัฒนศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2551
รางวัล
รางวัลมหิดลวรานุสรณ์ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2547

การฉลองพระชนมายุ 7 รอบ (84 พรรษา)

ตราสัญลักษณ์ ฉลองพระชนมายุ 7 รอบ
24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 84 พรรษา รัฐบาลจัดให้มีงานฉลองพระชนมายุ 84 พรรษา สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

ธงประจำพระองค์ ภายใต้สัญลักษณ์ พ.ร

ความหมายตราสัญลักษณ์งานฉลองพระชนมายุ 7 รอบ (84 พรรษา)
อักษรพระนาม พ.ร. ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี อักษรสีทอง หมายถึงความเจริญพระชนมายุอันเป็นสวัสดิมงคลยืนยาวถึง 84 พรรษา แสดงถึงพระจริยวัตรอันงามพิสุทธิ์ ยืนยงดังทองนพคุณอันโอภาส ที่ไม่อาจปรวนแปรสีเป็นอื่น ประดิษฐานในกรอบอาร์มประดับลายเฟื่องสีทอง พื้นสีม่วงซึ่งเป็นสีประจำวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และประจำวันประสูติ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ผู้เป็นพระชนกและพระชนนี (วันเสาร์) อักษรพระนามในรูปอาร์มนั้นประดิษฐานอยู่ภายใต้พระชฎามหากฐิน อันแสดงถึงพระอิสริยยศสมเด็จเจ้าฟ้า ประกอบพระอุณาโลมอุตราวรรต เลียนลักษณะเลข 6 หมายถึงพระราชธิดาในรัชกาลที่ 6 อยู่บนพระโคซึ่งเป็นเทพพาหนะของพระอิศวร สื่อความหมายว่าสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ เป็นพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเปรียบได้ดั่งพระอิศวรซึ่งทรงแบ่งภาคมาเป็นพระมหากษัตริย์ไทย และทรงเป็นเจ้าฟ้า ซึ่งในพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ พราหมณ์จะได้สวดสรรเสริญพระอิศวรและเปิดศิวาลัยไกรลาส เป็นราชประเพณีเฉพาะพระบรมวงศ์ผู้ทรงพระอิสริยยศนี้ พระโคนั้นทรงเครื่องอย่างพระโคต้น พื้นตัวขาว เป็นรูปประจำพระนักษัตรคือปีฉลู ประดับวลัยที่เขนง (เขา) ห้อยพู่อุบะหู ประดับตาบหน้า ตาบอก และตุ้งติ้งอุบะทอง ใบเทศที่ตะโพก เท้าหน้าและหลัง เขนงและกีบเท้าสีทอง คาดแถบแพรสีหงชาด (สีชมพู) อันเป็นสีประจำวันประสูติ (วันอังคาร) ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ มีอักษรบอกงาน ความว่า “ฉลองพระชนมายุ 7 รอบ 24 พฤศจิกายน 2552” ตัวอักษรทองตัดขอบสีแสด ซึ่งเป็นสีที่สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ โปรด ทั้งยังเป็นสีศรีของวันประสูติ

เหรียญกษาปณ์และตราไปรษณียากรที่ระลึก

เหรียญกษาปณ์
กรมธนารักษ์ออกเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา
สิริโสภาพัณณวดี ดังต่อไปนี้
เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ฉลองพระชนมายุ 80 พรรษา เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 มีลักษณะดังนี้
เหรียญกษาปณ์เงิน ราคาหกร้อยบาท หนึ่งชนิด เหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ราคายี่สิบบาท หนึ่งชนิด และเหรียญกษาปณ์โลหะสองสี (สีขาวและสีทอง) ราคาสิบบาท หนึ่งชนิด ออกใช้เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี มีพระชนมายุ 80 พรรษา ในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ด้านหน้า กลางเหรียญมีพระรูปสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงฉลองพระองค์ชุดไทย ทรงเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่ง มหาจักรีบรมราชวงศ์ ที่พระอังสาเบื้องซ้ายประดับเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1 เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1 และเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1

ตราไปรษณียากร
บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัดออกตราไปรษณียากรที่ระลึกสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ดังต่อไปนี้
ตราไปรษณียากรที่ระลึก 80 พรรษา สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุ 80 พรรษา - เป็นพระรูปทรงฉลองพระองค์ชุดไทยสีเทาเข้ม ประดับเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ที่พระอังสาเบื้องซ้ายประดับเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1 เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1 และเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 ที่พระอังสาเบื้องขวาประดับเข็มกลัดเพชรอักษรพระบรมนามาภิไธย ร.ร.6 ในรัชกาลที่ 6 ฉากพื้นเป็นสีชมพูซึ่งเป็นสีวันประสูติ-วันอังคาร (วันแรกจำหน่าย: 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548)
ตราไปรษณียากรที่ระลึก 84 พรรษา สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุ 84 พรรษา -เป็นพระรูปทรงฉลองพระองค์ชุดไทยสีน้ำเงินเข้ม ประดับเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ที่พระอังสาเบื้องซ้ายประดับเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 อักษรบอกราคา 3 บาทเป็นสีชมพูซึ่งเป็นสีวันประสูติ-วันอังคาร (วันแรกจำหน่าย: 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552)
เพลงเฉลิมพระเกียรติ


เพลงเพชรรัตน วงดนตรีสุนทราภรณ์
โหมโรงเพชรรัตน-สุวัทนา
เพลงพระหน่อนาถ เนื้อร้อง: บทกล่อมพระบรรทม พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 ทำนอง: ทฤษฎี ณ พัทลุง




ต้นไม้ในพระนาม
กล้วยไม้สิงโตเจ้าฟ้าเพชรรัตน์
เป็นกล้วยไม้คู่ผสมใหม่ของโลก ผสมโดย นายภวพล ศุภนันทนานนท์ ได้รับพระราชทานพระอนุญาตให้เชิญพระนามมาตั้งเป็นนามกล้วยไม้สิงโตคู่ผสมใหม่ว่า สิงโตเจ้าฟ้าเพชรรัตน์ ขึ้นทะเบียนกับสมาคมพืชสวนอังกฤษเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ในชื่อ Bulbophyllum "Princess Bejaratana"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น